บริการประชาชนและเอกชน
การบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์สำหรับภาคเอกชนและประชาชน เป็นการให้บริการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐในการตรวจพิสูจน์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ในกรณีที่เรื่องดังกล่าวนั้นยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน บุคคลทั่วไป และนิติบุคคล ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดในเรื่องที่ยังไม่เป็นคดีหรือยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก คลิกที่ปุ่มลงทะเบียน
ขั้นตอนการขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
1. กรอกรายละเอียด ในระบบ e-one stop service 2. นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 3. มาตามวันที่นัดหมาย กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยานที่ชั้น 9 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ 4. กรอกรายละเอียดแบบคำขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ และบันทึกข้อตกลงในการขอรับบริการ 5. ชำระค่าธรรมเนียม 6. เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจพิสูจน์ 7. รับรายงานการตรวจพิสูจน์
เอกสารดาวน์โหลด
เงื่อนไขการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
การนัดหมาย และการเลื่อนนัด
บุคคลที่อาจได้รับการงดหรือลดค่าธรรมเนียม
ประกาศสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ระยะเวลาการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
คู่มือการขอรับบริการนิติวิทยาศาสตร์ (สำหรับประชาชนและเอกชน)
แบบคำขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
ประกาศคณะกรรมการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมฯ พ.ศ.2563
การตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยา DNA
การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) จากสิ่งส่งตรวจวัตถุพยานจากสถานที่เกิดเหตุ บุคคลที่มีชีวิตหรือจากชิ้นส่วนของศพ โดยเก็บตัวอย่างได้จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม เลือดและรากผม เป็นต้น สามารถใช้พิสูจน์ความสัมพันธ์พ่อ แม่ ลูก และเครือญาติได้
อัตราค่าบริการ
เริ่มต้นที่ 6,500 บาท ถึง 16,000 บาท ต่อ 1 ตัวอย่างการตรวจพิสูจน์ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจพิสูจน์ DNA
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยา DNA
1. กรอกรายละเอียด 2. นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 3. มาตามวันที่นัดหมาย กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยานที่ชั้น 9 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ 4. กรอกรายละเอียดใบคำร้อง และบันทึกข้อตกลงในการขอรับบริการ 5. ชำระค่าธรรมเนียม 6. เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจพิสูจน์ 7. รับรายงานการตรวจพิสูจน์
เอกสารดาวน์โหลด
ไม่มีเอกสาร
การตรวจวิเคราะห์สารเสพติดในเส้นผม
การตรวจสารเสพติดในเส้นผมเป็นวิธีการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ทราบถึง ประวัติการใช้ยาเสพติดได้ และสามารถตรวจติดตาม เพื่อเฝ้าระวังการกลับไปกระทำผิดซ้ำในกรณีเสพยาเสพติดได้ เนื่องจากเส้นผมเป็นแหล่งเก็บสะสมของสารเสพติดและยาที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน แตกต่างกับกรณีตรวจสารเสพติดและยาในเลือดหรือปัสสาวะที่สามารถตรวจสอบได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยวิธีการตรวจพิสูจน์จะแบ่งการตรวจวิเคราะห์เป็น 2 แบบ ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์หาสารเสพติดแบบไม่แบ่งระยะ (ทั้งเส้น) และแบ่งระยะการตรวจพิสูจน์เพื่อติดตามประวัติการใช้ยา สามารถตรวจหาสารเสพติดได้ถึง 26 ชนิด ในกลุ่มยาบ้า เฮโรอีน มอร์ฟีน ยานอนหลับ และยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติด ยกเว้นสารกลุ่มกัญชา
อัตราค่าบริการ
1. ตรวจเส้นผมทั้งเส้น ค่าบริการ 5,000 บาท 2. ตรวจเส้นผมแบบแบ่งระยะ ค่าบริการ 5,000 บาท ต่อ ระยะ
ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์สารเสพติดในเส้นผม
1. กรอกรายละเอียด 2. นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 3. มาตามวันที่นัดหมาย กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยานที่ชั้น 9 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ 4. กรอกรายละเอียดใบคำร้อง และบันทึกข้อตกลงในการขอรับบริการ 5. ชำระค่าธรรมเนียม 6. เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจพิสูจน์ 7. รับรายงานการตรวจพิสูจน์
เอกสารดาวน์โหลด
ไม่มีเอกสาร
การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร
การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร คือการตรวจเอกสารที่ต้องสงสัย ได้แก่ การตรวจลายมือเขียน ลายเซ็น การตรวจชนิดของหมึก กระดาษ ว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ การตรวจหาข้อความที่เกิดจากขูดลบ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข เพื่อหาข้อความเดิม การตรวจเอกสารปลอมแปลง รอยตราประทับ ธนบัตรและหนังสือเดินทาง
อัตราค่าบริการ
1. ค่าบริการปัญหาละ 10,000 บาท 2. ค่าบริการ 5 ปัญหาขึ้นไป 50,000 บาท
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร
1. กรอกรายละเอียด 2. นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 3. มาตามวันที่นัดหมาย กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยานที่ชั้น 9 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ 4. กรอกรายละเอียดใบคำร้อง และบันทึกข้อตกลงในการขอรับบริการ 5. ส่งมอบเอกสาร เพื่อการตรวจพิสูจน์ 6. ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่มารับรายงานการตรวจพิสูจน์ 7. รับรายงานการตรวจพิสูจน์
เอกสารดาวน์โหลด
ไม่มีเอกสาร
ขั้นตอนการขอรับสำเนารายงานผลการตรวจพิสูจน์ฯ
1. กรอกรายละเอียดในระบบ e-one stop service 2. นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 3. มาตามวันที่นัดหมาย ติดต่อที่ศูนย์ E-one stop service ที่ชั้น 8 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ โทร. 0 2142 3467 4. กรอกรายละเอียดแบบคำขอสำเนารายงานผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ 5. ยื่นเอกสารประกอบคำขอสำเนาฯ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารดาวน์โหลด) 6. ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่มารับสำเนารายงานผลการตรวจพิสูจน์ฯ 7. รับสำเนารายงานผลการตรวจพิสูจน์ฯ
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
เรื่องราวร้องทุกข์ หมายถึง เรื่องราวร้องทุกข์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ของประชาชน โดยเรื่องร้องทุกข์นั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ขัดแย้งกับระเบียบข้อบังคับหรือกฏหมายใดๆ หรือเป็นการละเมิดอำนาจศาล ซึ่งผู้ร้องทุกข์ ได้แก่ ผู้เสียหาย ญาติสายตรงหรือทายาทโดยธรรม สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายของผู้เสียหายหรือผู้เสียชีวิต ที่ดำเนินการเข้าแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก คลิกที่ปุ่มลงทะเบียน
ขั้นตอนการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
1. กรอกรายละเอียดในระบบ e-one stop service 2. รอการนัดหมายวันที่จะเข้าแจ้งรายละเอียดเรื่องราวร้องทุกข์ จากระบบ e-one stop service 3. มาตามวันที่นัดหมาย ติดต่อที่ศูนย์ E-one stop service ที่ชั้น 8 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ โทร. 0 2142 3467 4. กรอกรายละเอียดใบแบบรับเรื่องราวร้องทุกข์ 5. รอผลการพิจารณาดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ 6. รับรายงานผลการร้องทุกข์
ติดต่อรับศพ
1. หนังสือขอรับศพจากสถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ (ทร.18) 2. บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต 3. บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านผู้รับศพ 4. ทะเบียนสมรสในกรณีผู้รับศพเป็นสามีหรือภรรยาของผู้เสียชีวิต 5. หนังสือแสดงการขอรับศพจากสถานทูตฯ กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก คลิกที่ปุ่มลงทะเบียน
ขั้นตอนการติดต่อขอรับศพ
1. ญาติสามารถยื่นเอกสารขอรับศพได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. เท่านั้น 2. กรอกรายละเอียดใบคำร้องและบันทึกข้อตกลงในการขอรับศพ ณ ห้องศพโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ. ปทุมธานี 3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลผู้รับศพต้องเป็นญาติสายตรงของผู้เสียชีวิตเท่านั้น เช่น พ่อ แม่ หรือลูก ของผู้เสียชีวิตเท่านั้น 4. หากญาติมีความประสงค์ขอไม่ให้ผ่าชันสูตรศพกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ณ ห้องศพ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติโดยด่วน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ 5. ญาติดำเนินการรับศพ 6. กรณี รับใบรายงานการชันสูตรศพติดต่อ : เจ้าหน้าที่กลุ่มนิติพยาธิวิทยา สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 (ฝั่งตะวันออก) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0 2142 3587, 0 2142 3588 7. การดำเนินการขอรับศพกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ที่อยู่
120 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 8 อาคารรัฐประศาสนภักดี(อาคาร B) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งานประชาสัมพันธ์ (+66) 02 142 3491 , 02 142 3492 งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ขอให้ตรวจพิสูจน์ และบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ภาคประชาชน (+66) 02 142 3620, 089 969 3050 งานรับ-ส่งวัตถุพยานสำหรับภาครัฐ (+66) 02 142 3593 ศูนย์บริการร่วม One Stop Service 02-142-2647 02-142-3620 ส่งหนังสือติดต่อราชการ E-mail: saraban@cifs.mail.go.th
งานสารบรรณ 021423477
Email : webmaster@cifs.mail.go.th
เมนูหลัก
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ร่างพระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ ฉบับที่ .. พ.ศ. ....
- พ.ร.บ. พ.ร.ก.
- กฎหมายลำดับรอง พระราชบัญญัติการให้บริการฯ
- Infographic ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
- ประกาศสถาบันฯ
- มาตรการ ข้อบังคับ ฯ
- นโยบายการใช้งาน
- อนุบัญญัติเเละคำแนะนำที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. 77 ประกาศราชกิจจานุเบกษา 27 พฤศจิกายน 2562
- บทความความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
- แนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- นโยบายธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- กฎหมายเกี่ยวกับไอที